สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 26 ต.ค.-1 พ.ย. 61

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) 2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง 4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming) 5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ 6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร และ 7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการ นบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,921 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,825 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,774 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,601 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.27
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,750 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,350 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.85
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,104 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,304 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,105 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,894 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 410 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,252 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 409 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,286 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.46 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 34 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 392 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,891 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 397 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,896 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 5 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 397 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,055 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,091 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 36 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.8844
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          เวียดนาม
          ภาวะราคาข้าวขาว 5% ในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ตันละ 410-415 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากตันละ 405-410 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากในช่วงนี้อุปทานข้าวในประเทศมีจำกัด เพราะการเก็บเกี่ยวข้าวฤดูนาปรังเพิ่งสิ้นสุดลง ขณะที่คาดว่าความต้องการข้าวจากประเทศในแถบเอเชียจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ซึ่งคาดว่าจะมีการซื้อขายข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล จึงทำให้ผู้ค้าข้าวในประเทศต่างเร่งหาซื้อข้าวเตรียมไว้ อย่างไรก็ตาม
ในส่วนของการค้าตามปกติในช่วงนี้ค่อนข้างเงียบเหงา เพราะราคาข้าวของเวียดนามสูงกว่าประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่อื่นๆ
          ขณะที่เกษตรกรในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง (the Mekong Delta) เริ่มหว่านข้าวฤดูการผลิตฤดูหนาว (the winter-spring crop) แต่คาดว่าปริมาณน้ำฝนจะลดลงในอีกสองเดือนข้างหน้า ซึ่งทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าจะเกิดภาวะแห้งแล้ง
          สำนักข่าว Reuters รายงานว่า ในช่วง 10 เดือนแรก (มกราคม-ตุลาคม) คาดว่าเวียดนามจะส่งออกข้าวได้ ประมาณ 5.24 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าส่งออกประมาณ 2.64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยในเดือนตุลาคมนี้คาดว่าเวียดนามจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 350,000 ตัน มูลค่ากว่า 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
          อินเดีย
          ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือน อยู่ที่ตันละ 361-367 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากตันละ 365-370 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากมีแรงกดดันจากความต้องการจากต่างประเทศที่ลดลง ประกอบกับในฤดูเก็บเกี่ยว summer-sown crops ที่กำลังจะมาถึงคาดว่าจะมี ผลผลิตประมาณ 99.24 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.8         และจากในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รัฐบาลได้ปรับราคารับซื้อข้าวขั้นต่ำ (the minimum support price; MSP) สำหรับข้าวเกรดธรรมดา (common-grade paddy) ขึ้นมาที่ 1,750 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม หรือประมาณ 255 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ส่งออกมีต้นทุนในการซื้อข้าวจากเกษตรกรสูงขึ้น เพราะต้องแย่งซื้อข้าวกับรัฐบาลแต่วงการค้าคาดว่าจะไม่มีผลต่อราคาส่งออกมากนักเพราะค่าเงินรูปีอ่อนค่าลง โดยล่าสุดค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ประมาณ 74.48 รูปีต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
          กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (the Indian Ministry of Commerce and Industry) รายงานว่า รัฐบาลจีนอนุญาตให้ บริษัทส่งออกข้าวของอินเดียอีก 5 ราย สามารถส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติไปยังประเทศจีนได้ ทำให้
ปัจจุบันมีผู้ส่งออกข้าวของอินเดียทั้งหมด 24 บริษัท สามารถส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนได้
          ทั้งนี้ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทางการจีนได้อนุมัติให้บริษัทของอินเดียจำนวน 19 ราย จากที่หน่วยงานของจีนได้มีการตรวจประเมินโรงงานแล้ว 24 ราย สามารถที่จะส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติไปยังประเทศจีนได้ และ
เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาได้เริ่มส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติจำนวน 100 ตัน ไปยังประเทศจีนเป็นล็อตแรกแล้ว
          กระทรวงทรัพยากรน้ำ (the Ministry of Water Resources) รายงานว่า ปริมาณน้ำที่กักเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำหลักทั่วประเทศ 91 แห่ง ณ วันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำกักเก็บประมาณ 112.67 พันล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (111.63 พันล้านลูกบาศก์เมตร) ประมาณร้อยละ 0.93 แต่ลดลงร้อยละ 2.04
เมื่อเทียบกับ 115.02 พันล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งสัปดาห์ที่แล้วปริมาณกักเก็บมีประมาณ 120.09 พันล้านลูกบาศก์เมตร โดยปริมาณน้ำที่กับเก็บในขณะนี้คิดเป็นประมาณร้อยละ 70 ของความจุของอ่างเก็บน้ำ ซึ่ง สามารถกักเก็บน้ำได้เต็มที่ประมาณ 161.993 พันล้านลูกบาศก์เมตร
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
          ฟิลิปปินส์
          สภาองค์การอาหารแห่งชาติ (The National Food Authority Council; NFAC) ได้อนุมัติข้อเสนออย่างเป็นทางการให้ภาคเอกชนสามารถนำเข้าข้าวผ่านช่องทางของโครงการนำเข้าข้าว (PRD or Presyong Risonable Dapat) ของกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (the Department of Trade and Industry; DTI) จำนวน 350,000 ตัน
โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ที่นำเข้าข้าวจะต้องนำข้าวที่นำเข้ามาขายในตลาดในราคาไม่เกินกิโลกรัมละ 38 เปโซ
          ทั้งนี้ ภายใต้ระเบียบการนำเข้าผ่านช่องทางนี้ กระทรวงการค้าฯ จะให้การรับรองต่อ NFA สำหรับผู้นำเข้าภายใต้โครงการนี้ (PRD) และ NFA จะออกใบอนุญาตนำเข้าให้แก่ผู้นำเข้าที่กระทรวงการค้าฯ ได้พิจารณาแล้ว โดยขณะนี้
มีผู้แสดงความจำนงจะนำเข้าในช่องทางนี้แล้ว 4 ราย เช่น Philippine Consumer Centric Traders Association, Robinsons Supermarket และ Puregold  โดยกระทรวงการค้าจะเปิดให้ผู้สนใจนำเข้าข้าวทั้งผู้นำเข้าเอกชนและผู้ค้าปลีกต่างๆ มายื่นเสนอความจำนงในการนำเข้าข้าว โดยให้สิทธิ์แก่ผู้ที่มายื่นก่อนและจะให้แต่ละรายนำเข้าข้าวได้สูงสุด
รายละ 20,000 ตัน
          ก่อนหน้านี้ สำนักข่าว Bloomberg ได้รายงานโดยอ้างอิงจากหนังสือเวียนของกระทรวงการค้า (Department of Trade and Industry) กระทรวงเกษตร (Department of Agriculture) องค์การอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) และสำนักงานบริหารจัดการสินค้าน้ำตาล (Sugar Regulatory Administration) ระบุว่า รัฐบาลจะอนุญาตให้ผู้ค้าปลีก ผู้ที่ใช้ข้าวในการผลิต และผู้นำเข้าที่เชื่อมโยงกับผู้ค้าปลีกสามารถนำเข้าข้าวและน้ำตาลได้ ตราบใดที่สามารถนำมาจำหน่ายในประเทศได้ในระดับราคาที่รัฐบาลกำหนดไว้ โดยข้าวจะกำหนดราคาขายไว้ที่ 38 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 705 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ส่วนน้ำตาลกำหนดราคาขายไว้ที่ 50 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 928 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
          ขณะเดียวกัน รัฐบาลกำลังพยายามที่จะจัดหาข้าวอีก 703,000 ตัน หลังจากที่ซื้อข้าวได้เพียง 47,000 ตัน
จากการประมูลแบบ G to P เมื่อวันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยคาดว่าในช่วงสัปดาห์หน้าจะมีการปรับวิธีการประมูล
จากเดิมที่แบ่งเป็น 3 ครั้ง ๆ ละ 250,000 ตัน นั้น จะเปลี่ยนเป็นการประมูลแบบ government-to-government (G2G) จำนวน 203,000 ตัน (ที่เหลือจากการประมูลเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม) และหลังจากนั้นจะจัดประมูลแบบ government-to-private (G2P) จำนวน 500,000 ตัน โดยคาดว่าหน่วยงาน NFA จะออกประกาศเงื่อนไขการประมูล (Terms of Reference; TOR) รอบใหม่ (re-bidding) ในเร็วๆ นี้ โดยจะประมูลแบบ G2G ก่อน แล้วจึงจะจัดประมูลแบบ G2P ตามมา
          ล่าสุดมีรายงานว่าองค์การอาหารแห่งชาติ (NFA) ได้เลื่อนการประมูลแบบ G2G เพื่อจัดหาข้าวขาว 25% (25% BROKENS, WELL MILLED LONG GRAIN WHITE RICE) จำนวน 203,700 ตัน จากเดิมวันที่ 30 ตุลาคม ออกไปเป็นวันที่ 6 พฤศจิกายนนี้
          ในปีนี้รัฐบาลได้อนุมัติให้มีการนำเข้าข้าวรวมประมาณ 2.4 ล้านตัน (ซึ่งยังต่ำกว่าในปี 2553 ที่มีการนำเข้าข้าวประมาณ 2.45 ล้านตัน) ประกอบด้วยการประมูลแบบ G to G และ G to P ที่จัดขึ้นเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา
รวม 500,000 ตัน การจัดสรรโควตาให้เอกชนนำเข้าภายใต้ระบบ MAV ในปีนี้รวม 805,200 ตัน การอนุมัติให้ผู้ค้าข้าว
นำเข้า 350,000 ตัน และการอนุมัติให้ NFA จัดประมูลแบบ G to P อีก 3 ครั้ง รวม 750,000 ตัน
          สภาองค์การอาหารแห่งชาติได้ออกประกาศตารางเวลาของของการนำเข้าข้าวภายใต้ระบบ MAV (Minimum Access Volume) ในปี 2560/61 โดยในเฟส 2 นี้ จากเดิมที่กำหนดไว้ในช่วงระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม 2561 ไปจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2561 และไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562
          รัฐบาลได้เลื่อนการใช้มาตรการราคาแนะนำ (the suggested retail price; SRP) สำหรับข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศและข้าวที่ผลิตในประเทศจากเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันที่ 27 ตุลาคม ตามข้อเรียกร้องของผู้ประกอบการที่ต้องการเวลาในการปรับตัวก่อนที่จะบังคับใช้มาตรการดังกล่าว
          โดยทางการได้กำหนดราคาขายปลีกของข้าวขาวเกรดธรรมดาที่นำเข้า (imported regular milled rice)
กำหนดไว้ที่ 40 เปโซต่อกิโลกรัม (ประมาณ 745 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน) ขณะที่ราคาขายปลีกของข้าวขาวเกรดธรรมดาที่ผลิตในประเทศ (local regular milled rice) กำหนดไว้ที่ 39 เปโซต่อกิโลกรัม (ประมาณ 725 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน) และข้าวขาวเกรดดีที่ผลิตในประเทศ (local well-milled rice) กำหนดไว้ที่ 44 เปโซต่อกิโลกรัม (ประมาณ 818 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน) ส่วนข้าวเกรดพรีเมี่ยมกำหนดไว้ที่ 47 เปโซต่อกิโลกรัม (ประมาณ 874 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน)
          สำนักงานสถิติแห่งชาติ (The Philippine Statistics Authority; PSA) รายงานว่า ราคาข้าวเปลือกและข้าวสารในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนตุลาคมที่ผ่านมาปรับตัวลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน หลังจากที่ราคาพุ่งสูงขึ้นไปสู่ระดับสูงสุดในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยราคาข้าวเปลือกเฉลี่ย (The average farm-gate paddy price) อยู่ที่ระดับ 21.17 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 395 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 3.16 จากช่วงสัปดาห์ก่อน แต่ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่ราคาขายส่งข้าวสารเกรดดี (The average wholesale price of the well-milled rice) อยู่ที่ระดับ 45.16 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 842 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 0.64 จากช่วงสัปดาห์ก่อน แต่ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนราคาขายปลีกข้าวสารเกรดดี (The average retail price of the well-milled rice) อยู่ที่ระดับ 48.83 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 911 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 0.35 จากช่วงสัปดาห์ก่อน แต่ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ราคาขายส่งข้าวสารเกรดธรรมดา (The average wholesale price of the regular-milled rice) อยู่ที่ระดับ 42.20 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 787 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 1 จากช่วงสัปดาห์ก่อน แต่ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และราคาขายปลีกข้าวสารเกรดธรรมดา (The average retail price of the regular-milled rice) อยู่ที่ระดับ 45.72 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 853 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 0.33 จากช่วงสัปดาห์ก่อน แต่ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.57 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.35 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.99 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.02 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.82 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.44
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ10.03 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.92 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.11 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.53 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 315.80 ดอลลาร์สหรัฐ (10,322 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 315.25 ดอลลาร์สหรัฐ (10,240 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 82 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2  สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 365.72 เซนต์ (4,768 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 366.43 เซนต์ (4,748 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 20.00 บาท
 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.40 ล้านไร่ ผลผลิต 29.98 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.57 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.03 ล้านไร่ ผลผลิต 27.88 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.61 ร้อยละ 7.53 และร้อยละ 2.88 ตามลำดับ โดยเดือนตุลาคม 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.20 ล้านตัน (ร้อยละ 4.01 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 20.08 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการโรงงานแป้งมันสำปะหลังและลานมันเส้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.57 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.17  
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.39 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.95 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 8.89
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.91 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.92 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.14
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.37 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 15.45 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.52
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,662 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (7,569 บาทต่อตัน) เท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,442 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 508 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,501 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.57

 
 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนตุลาคมจะมีประมาณ 1.455   
ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.247 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.274 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.217 ล้านตัน ของเดือนกันยายน 2561 คิดเป็นร้อยละ 14.21 และร้อยละ 13.82 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.88 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.80 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.86                                                       
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 17.50 บาท ลดลงจาก กก.ละ 17.94 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.45  
2.  ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สต็อกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 3 ปี
แหล่งข่าวจากรอยเตอร์รายงานว่า ผลการสำรวจในเดือนตุลาคม 2561 คาดว่าสต็อกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 ซึ่งสต็อกน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1.96 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบตลาดมาเลเซียปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2,139 ริงกิตต่อตัน (513.23 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 0.7 ประกอบกับความต้องการของประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ชะลอตัวลดลง เช่น อินเดีย และจีน ลดลงร้อยละ 13 อย่างไรก็ตาม คาดว่าผลผลิตปาล์มน้ำมันของมาเลเซียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2561 
ราคาในตลาดต่างประเทศ   
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,038.12 ดอลลาร์มาเลเซีย  (16.38 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,113.37 ดอลลาร์มาเลเซีย  (16.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.56               
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 512.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (17.05 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 530.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (17.44 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.40               
หมายเหตุ: ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล 
 
 

 
ถั่วเหลือง

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 845.08 เซนต์ (10.34 บาท/กก.) ลดลงจาก
บุชเชลละ 852.84 เซนต์ (10.31 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.91
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 308.08 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.26 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 309.40 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.18 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.43
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 28.08 เซนต์ (20.61 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 28.81 เซนต์ (20.90 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.53


 

 
ยางพารา
 
ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 40.33 บาท/กิโลกรัม
1. ราคายางพาราภายในประเทศ
1.1  ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
1) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.78 บาท เพิ่มขึ้นจาก 40.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.34 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.84 
2) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.28 บาท เพิ่มขึ้นจาก 39.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.34 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.85
3) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.78 บาท เพิ่มขึ้นจาก 39.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.34 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.86
4) ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.14 บาท เพิ่มขึ้นจาก 19.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.06 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.56
5) เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.21 บาท เพิ่มขึ้นจาก 16.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.83 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.07
6) น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.09 บาท ลดลงจาก 36.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.28 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.77
1.2 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.46 บาท ลดลงจาก 48.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.58 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.20
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.31 บาท ลดลงจาก 46.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.58 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.23
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.54 บาท เพิ่มขึ้นจาก 43.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.84 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.92
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.97 บาท ลดลงจาก 33.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.67 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.98
ท่าเรือสงขลา 
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.21 บาท ลดลงจาก 47.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.58 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.21
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.06 บาท ลดลงจาก 46.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.58 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.24
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.29 บาท เพิ่มขึ้นจาก 43.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.84 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.93
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.72 บาท ลดลงจาก 33.39 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.67 บาท หรือลดลงร้อยละ 2.00
2.  ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ  
2.1 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.52 เซนต์สหรัฐฯ (46.21 บาท) ลดลงจาก 142.32 เซนต์สหรัฐฯ (46.20 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 1.80 เซนต์สหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 1.26
2.2 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 146.50 เยน (42.42 บาท) ลดลงจาก 147.68 เยน (42.30 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 1.18 เยน หรือลดลงร้อยละ 0.80


 

 
สับปะรด
 

 
 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.67 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 22.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.88
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 788.80 ดอลลาร์สหรัฐ (25.94 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 798.50 ดอลลาร์สหรัฐ (25.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.21 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 721.40 ดอลลาร์สหรัฐ (23.72 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 736.50 ดอลลาร์สหรัฐ (23.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.05 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.20 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 574.60 ดอลลาร์สหรัฐ (18.90 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 581.50 ดอลลาร์สหรัฐ (18.89 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.19 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 422.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13.88 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 427.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13.89 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.17 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 777.40 ดอลลาร์สหรัฐ (25.56 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 791.75 ดอลลาร์สหรัฐ (25.72 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.16 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 52.50 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.90
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.57 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 
 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 77.70 เซนต์ 
(กิโลกรัมละ 57.07 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 78.34 เซนต์ (กิโลกรัมละ 56.84 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.82แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.23 บาท
 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,690 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,675 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 0.88
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,437 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,417 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา   ร้อยละ 1.41
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 966 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 978 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.23

 
 


ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเริ่มมีมากขึ้น  ส่งผลให้ภาวะตลาดสุกรเริ่มคึกคัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย  
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  59.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.86 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 57.87 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 57.09 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 61.13  บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 60.50 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,700 บาท (บวกลบ 60 บาท)  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 63.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 3.15

 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อที่เริ่มมีมากขึ้น  ขณะที่ผลผลิตออกสู่ตลาดอยู่ในภาวะปกติ แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว   
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.27 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.11บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.48  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 32.34 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 41.01 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ  32.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สัปดาห์นี้ภาวะตลาดไข่ไก่ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  239 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 268 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 278 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 228 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 261  บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 327 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 325 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.62 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 304 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ  350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ  
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.81 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.20  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.78 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 82.47 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.17 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.29 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.43 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.49 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.50 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา


 


 
ประมง
 
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2561) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.70 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 40.00 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา 14.30
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.68 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 85.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.28 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัม และราคา ณ ตลาดทะเลไทย     จ.สมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 128.43 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 129.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.21 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 127.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.50 บาท
 2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.82 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 23.19 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 154.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 14.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.10 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.15 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 26 ต.ค. – 1 พ.ย. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 30.71 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.71 บาท